วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555


บทความพิเศษ เศรษฐกิจพอเพียงกับธุรกิจเอกชน

ข่าวเศรษฐกิจ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ -- พุธที่ 26 เมษายน 2549 14:55:47 น.
การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในธุรกิจเอกชน ไม่เพียงแต่ไม่ขัดกับการทำธุรกิจเพื่อการแข่งขัน หรือแสวงหากำไรแล้ว แต่ยังช่วยส่งเสริมให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว และให้เกิดการเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขันความเสี่ยงที่จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้ธุรกิจร่วมมือกัน เพื่อให้เศรษฐกิจทั้งระบบสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนและสมดุลมากยึ่งขึ้น
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับธุรกิจเอกชน
เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า การดำเนินธุรกิจเอกชน ส่วนใหญ่จะเน้นกำไรให้ได้สูงสุด และเป็นที่สงสัยกันมากกว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจะสามารถประยุกต์ใช้กับภาคธุรกิจเอกชนได้มากน้อยเพียงใด
ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างชัดเจนมากขึ้น คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรฐกิจพอเพียง จึงได้ศึกษาการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับธุรกิจเอกชนที่แตกต่างกันใน 4 ลักษณะ คือ ธุรกิจชุมชน (บ้านอนุรักษ์กระดาษสา) ธุรกิจ SME (ชื่อไทยดอทคอม) บริษัทจดทะเบียน (บริษัทแฟรนด้าจิวเวอรี่) และกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ (บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด) เป็นกรณีศึกษา ซึ่งผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่า หลักปรัชญาของเศรษบกิจพอเพียงสามารถนำประยุกต์ใช้กับการบริหารงานของธุรกิจได้ ดังนี้
ความพอประมาณ: มุ่งผลประโยชน์ระยะยาวมากกว่าระยะสั้น
หลักความพอประมาณของเศรษฐกิจพอเพียงที่สำคัญคือ ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เมื่อเทียบกับการดำเนินธุรกิจได้แก่ การมีจุดมุ่งหมายที่มุ่งหวังได้รับผลประโยชน์หรือผลกำไรสุทธิระยะยาวมากกว่าระยะสั้นนั่นเอง โดยการประยุกต์ใช้หลักความพอประมาณในทางธุรกิจ จะมีลักษณะการดำเนินงานที่สำคัญๆคือ
การผลิตจะเน้นการผลิตเพื่อลูกค้าบางกลุ่มมากกว่าการผลิตเพื่อขายทั่วไป
การรับคำสั่งจะรับคำสั่งเฉพาะที่จะทำได้ตามกำลังที่มีอยู่เพื่อรักษาคุณภาพให้อยู่ในระดับสูง
การแสวงหากำไรจะยึดถือหลักการแบ่งปัน ไม่เบียดเบียนคู่ค้า ให้ร่วมกันเป็นพันธมิตรทางธุรกิจในระยะยาวและเกิดความไว้วางใจ รวมทั้งให้ความสำคัญต่อการจ่ายเงินให้แก่พนักงานและ supplier อย่างรวดเร็วตลอดจนกันกำไรส่วนหนึ่งสำหรับพัฒนาความรู้และกิจกรรมสังคม
การก่อหนี้และขยายการลงทุน ขยายธุรกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป เมื่อกำไรมากพอไม่กู้ยืมเงิน และเน้นเฉพาะสาขาธุรกิจที่ตนเชี่ยวชาญ รวมทั้งจะรักษาอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนให้เหมาะสมการข่งขันด้วยความยุติธรรมเพื่อสร้างพันธมิตรธุรกิจ โดยมีเครือข่ายผู้ผลิตที่เล็กกว่าที่จะจัดส่งงานบางส่วนให้ รวมทั้งมีการฝึกอบรมและให้คำแนะนำอย่างต่อเนื่อง
ความมีเหตุมีผล: ต้องรู้จักลูกค้า รู้จักตลาด รู้จักคู่แข่ง และรู้จักตัวเอง
ส่วนการประยุกต์ใช้หลักความมีเหตุผล ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการดำเนินธุรกิจคือ การรู้จักลูกค้า รู้จักตลาด รู้จักคู่แข่ง และรู้จักตัวเอง ซึ่งทำให้การบริหารมีลักษณะที่สำคัญๆดังนี้
เข้าใจในธุรกิจของตน และตลาดที่ตนแข่งขันอยู่อย่างถ่องแท้ ซึ่งจำเป็นต้องสร้างเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ให้ต่างจากคู่แข่ง และมีนวัตกรรมใหม่ๆ มีการวิจัยตลาดรวมทั้งเข้าใจถึง core competency ขององค์กรและเน้นการผลิตที่ตรงกับ core competency ตลอดจนตรวจสอบผลการทำงานของตนกับบริษัทคู่แข่งอย่าสม่ำเสมอ ( benchmarking )
เข้าใจถึง key success factor ของธุรกิจ โดยพยายามไม่ให้พนักงานมีหนี้สินและความกังวล ซึ่งจะกระทบต่องานศิลปะที่ต้องใช้ความประณีต รวมทั้งมีการรักษากระบวนการผลิตให้เป็นธรรมชาติที่สุด
สำหรับธุรกิจที่อิงกับเทคโนโลยีต้องพัฒนาความรู้ของพนักงานอย่างต่อเนื่อง และต้องเน้นที่การนำเสนอเทคโนโลยีมาประยุกต์ ตลอดจนมีการแบ่งกลุ่มลูกค้าอย่างชัดเจน และมีความยืดหยุ่นในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่มในช่วงเวลาต่างๆ
ใช้ทรัพยากรที่มีกระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกระจายการผลิตบางส่วนไปในประเทศที่มีแรงงานถูกกว่าเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน และคิดค้นกระบวนการที่จะนำวัตถุดิบที่มีต้นทุนสูง หรือหายากกลับมาใช้ใหม่
รับความเสี่ยงในระดับที่เหมาะสมโดยใช้หลักบริหารการตลาดแบบ concentrated strategy เพื่อเข้าใจความต้องการของลูกค้าให้ชัดเจนก่อนที่จะขยายตลาดไปยังที่อื่นและให้สิทธิการจัดจำหน่ายในตลาดใหม่ๆแทนการลงทุนเจาะตลาดด้วยตนเอง
การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ต้องเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสม
สำหรับการประยุกต์ใช้การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในการดำเนินธุรกิจคือ จะต้องเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสมโดย
กระจายผลิตภัณฑ์และตลาดเพื่อลดความเสี่ยง โดยการปรับผลิตภัณฑ์จากสินค้าฟุ่มเฟือยมาเป็นสินค้าที่ลูกค้าใช้ประจำ และกระจายตลาดในหลายประเทศ เพื่อลดผลกระทบจากวัฏจักรเศรษฐกิจต่อสินค้าฟุ่มเฟือย
ควบคุมกระบวนการจัดหาวัตถุดิบให้ต่อเนื่อง โดยลงทุนในแหล่งวัตถุดิบของตนเอง รักษาอัตราการหมุนเวียนของพนักงานให้อยู่ในระดับต่ำ ให้ราคาแก่ supplier อย่างเหมาะสม เพื่อรักษาความสัมพันธ์ระยะยาว และลดต้นทุนของการหา supplier ใหม่ๆ( switching costs ) สะสมเงินออม โดยมีระบบการแบ่งเงินที่เหลือจากเงินหมุนเวียนเป็นเงินออมระยะยาว และมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลที่เหมาะสมกับการสะสมเงินไว้สำหรับการลงทุนใหม่
สะสมเงินออม โดยมีระบบการแบ่งเงินที่เหลือจากเงินหมุนเวียนเป็นเงินออมระยะยาว  และมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลที่เหมาะสมกับการสะสมเงินไว้สำหรับการลงทุนใหม่
ประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงล่วงหน้าอย่างสม่ำเสมอ โดยมีนโยบายและกำหนดเวลาที่ต้องประเมินความเสี่ยงอย่างชัดเจน มีการสร้างระบบเตือนภัยล่วงหน้า และป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งพยายามสร้างความสมดุลด้านรายรับและรายจ่ายในเงินสกุลต่างประเทศแต่ละสกุล
ส่งเสริมความรู้และคุณธรรมอย่างต่อเนื่อง
นอกจากการประยุกต์ใช้หลักความพอประมาณ การมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันที่ดีตามหลักปรัชญาของเศราฐกิจพอเพียงดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังต้องอาศัยความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการดำเนินธุรกิจด้วย ซึ่งธุรกิจต่างๆ จะต้องมีการสร้างความรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และใช้ความรู้ด้วยความรอบคอบระมัดระวัง
สร้างเสริมให้พนักงานได้รับความรู้อย่างต่อเนื่อง และมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอย่างสม่ำเสมอ
ร่วมกับผู้ประกอบการอื่นๆ ในการพัฒนาความรู้ และมาตรฐานของธุรกิจ โดย Social venture network และ กลุ่มพันธมิตรผู้ให้บริการ website ภาษาไทย
ส่วนทางด้านคุณธรรมนั้น ต้องมีการสร้างความตระหนักและให้ยึดมั่นในคุณธรรมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉาพะในด้านความเพียร ความอดทน และความซื่อสัตย์ โดย
-ให้มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง
-ให้มีคุณธรรมและความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า โดยรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และรักษาความลับของลูกค้าอย่างเคร่งครัด
-ให้มีคุณธรรมกับสังคมรอบข้างโดยการป้องกันผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมและจัดทำโครงการเพื่อสังคม
-ส่งเสริมคุณธรรมให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร โดยปกครองด้วยหลักความเมตตาและการให้สิทธิ์ลาเพื่อไปนั่งสมาธิ การปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเคร่งครัด และยอมรับผลกระทบอย่างเท่าเทียมกันในช่วงวิกฤต
สรุป
ภาคธุรกิจเอกชนที่มีการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะช่วยให้ธุรกิจของตนดำเนินงานได้อย่างมีเหตุผล รู้จักลูกค้า รู้จักตลาด รู้จักคู่แข่ง และรู้ตนเอง รวมทั้งพนักงานมีความรู้ และยึดมั่นในคุณธรรมได้ดียิ่งขึ้น ตลอดจน จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจมีเครื่องป้องกันผลกระทบจากภาวะความเสี่ยงภัยจากการดำเนินธุรกิจได้อย่างเหมาะสม สามารถดำเนินธุรกิจร่วมมือกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินธุรกิจได้รับผลประโยชน์หรือผลกำไรสุทธิระยะยาวและยั่งยืน รวมทั้งช่วยเศรษฐกิจทั้งระบบสามารถเติบโตอย่างมั่นคง แข็งแรงได้ในที่สุด

บทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ และวิกฤตโลกร้อน
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เริ่มพระราชทานเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ตั้งแต่ พ.ศ. 2499
       ต่อมาในปี 2517 พระองค์พระราชทานพระบรมราโชวาทเป็นครั้งแรกเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2517 แต่สังคมไทยโดยทั่วไป ยังเข้าไม่ถึงหลักการแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง        จนกระทั่งเมื่อประเทศไทยต้องประสบกับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจการเงิน (โรคต้มยำกุ้ง) ในปี 2540 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
บรรดานักเศรษฐศาสตร์และนักวิชาการต่างๆ ได้ร่วมกันประมวลและกลั่นกรองจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระราชทานในโอกาสต่างๆ รวมทั้งพระราชดำรัสอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นบทความเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และทูลเกล้าฯ ขอพระบรมราชวินิจฉัย และพระบรมราชานุญาตอีกครั้งหนึ่ง เพื่อความถูกต้อง ชัดเจน เพื่อจะได้เผยแพร่ให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมและอย่างสูงสุดต่อไป ซึ่งพระองค์ได้มีพระมหากรุณาธิคุณปรับปรุงแก้ไข และพระราชทานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ตกผลึก ชัดเจน ในหลักการอันเป็นหัวใจสำคัญ เพื่อผู้นำไปปฏิบัติจะสามารถประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมต่อไป ดังนี้ :- 


ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์

ความพอเพียง 
หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรจากผลกระทบทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน ขณะเดียวกันต้องเสริมพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีจิตสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุสังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ถูกนำมาใช้อย่างเป็นทางการโดย สศช. เป็นกรอบแนวคิดและทิศทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ บรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.550 ก็ได้บรรจุแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในส่วนที่ 3 แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 78 (1)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 
2พระราชทานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แก่พสกนิกรคนไทยและประเทศไทยเป็นสำคัญ แต่เนื่องด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีความเหมาะสมสำหรับสถานการณ์โลก ที่กำลังประสบกับปัญหาจากระบบทุนนิยมสุดโต่ง อย่างแสนสาหัสไม่เว้นแม้กับประเทศที่พัฒนาแล้ว ทำให้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้รับความสนใจและนำไปทดลองปฏิบัติในหลายประเทศอย่างได้ผล ดังเช่น ภูฏาน ศรีลังกา เคนยา มัลดีฟส์ ฯลฯ
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยังใช้กับประเด็นปัญหาเรื่องภาวะโลกร้อนได้อย่างดีอีกด้วย
เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2532 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับปรากฏการณ์เรือนกระจก ที่ศาลาดุสิดาลัย อย่างลึกซึ้ง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้รับสนองกระแสพระราชดำรัส นำเข้าประชุมคณะรัฐมนตรี จนกระทั่งทำให้วันที่ 4 ธ.ค. ของทุกปี เป็น วันสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา

จากผลงานพระราชดำริและการทรงลงมือปฏิบัติพัฒนาด้วยพระองค์เอง เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีคุณประโยชน์ต่อคนชนชาติต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคงของมนุษย์และการเมือง ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ไปทั่วโลก องค์การสหประชาชาติ โดยนายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ จึงได้เดินทางมาประเทศไทย ในวาระมหามงคลฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ 26 พ.ค. 2549 เพื่อถวายรางวัล "UNDP Human Development Lifetime Achievement Award" (รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์) ซึ่งเป็นรางวัลประเภท Life - Long Achievement และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในโลกที่ได้รับรางวัลนี้
องค์การสหประชาชาติ ได้ยกย่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็น "พระมหากษัตริย์นักพัฒนา" และกล่าวถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) ของพระองค์ว่า เป็นปรัชญาหรือทฤษฎีใหม่ที่นานาประเทศรู้จักและยกย่อง โดยที่องค์การสหประชาชาติได้สนับสนุนให้ประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิก ยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มิใช่เป็นเพียงปรัชญานามธรรม หากเป็นแนวทางปฏิบัติซึ่งสามารถจะช่วย ทั้งแก้ไขและป้องกันปัญหาที่เกิดจากกิเลสมนุษย์ และความเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อนรุนแรงขึ้น ที่กำลังเกิดขึ้นกับมนุษย์ทั้งโลก และปัญหาที่ลุกลามต่อถึงธรรมชาติ ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงใหญ่ในเชิงรุนแรง และสร้างปัญหาย้อนกลับมาที่มนุษย์

โดยทั่วไป มักเข้าใจกันว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เหมาะที่จะใช้เฉพาะกับคนยากจน คนระดับรากหญ้า และประเทศยากจน อีกทั้งเครื่องมือ เทคโนโลยี ก็จะต้องใช้เฉพาะเครื่องมือราคาถูกเทคโนโลยีต่ำ การลงทุนไม่ควรจะมีการลงทุนระดับใหญ่ แต่ในความเป็นจริง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก็ต้องการคนและความคิดที่ก้าวหน้า คนที่กล้าคิดกล้าทำในสิ่งใหม่ๆ 
เนื่องจากการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ไม่มีสูตรสำเร็จหรือคู่มือการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับภารกิจ ดังเช่น วิกฤตโลกร้อน ผู้เกี่ยวข้องจึงต้องศึกษาทำความเข้าใจ แล้วก็พัฒนาแนวทางหรือแนวปฏิบัติสำหรับแต่ละปัญหาขึ้นมา โดยยึดหลักที่สำคัญ ดังเช่น
- การคิดอย่างเป็นระบบ อย่างเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- หลักคิดที่ใช้ ต้องเป็นหลักการปฏิบัติที่เป็นสายกลาง ที่ให้ความสำคัญของความสมดุลพอดี ระหว่างทุกสิ่งที่เกี่ยวข้อง ดังเช่น ระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์
- ข้อมูลที่ใช้ จะต้องเป็นข้อมูลจริง ที่เกิดจากการศึกษา การวิจัย หรือการลงสนามให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง
- การสร้างภูมิต้านทานต่อความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
- การยึดหลักของความถูกต้อง คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ ในทุกขั้นตอนของการดำเนินงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญของการสร้างภูมิต้านทานต่อผลกระทบและความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น หรือที่จะเกิดขึ้น

เหล่านี้เป็นหลักการใหญ่ๆ ซึ่งผู้ที่รับผิดชอบหรือเกี่ยวข้องหรือคิดจะทำ โครงการหรือกิจกรรมในระดับค่อนข้างใหญ่ จะต้องคำนึงถึง และสามารถจะนำปรัชญานี้ไปใช้ได้ทันที และมีผู้ที่ได้ใช้ล้วนประสบความสำเร็จสูงสุดที่มนุษย์พึงจะมี คือ ความสุขที่ยั่งยืน
แล้วเรื่องของการแข่งขัน ชิงไหวชิงพริบ การวางแผนยุทธศาสตร์และโลจิสติกส์ ในการบริหารจัดการระบบ หรือโครงการใหญ่ๆ การใช้จิตวิทยามวลชน การใช้เทคโนโลยีก้าวหน้า การกำหนดแผนหรือตนเองให้เป็น "ฝ่ายรุก" มิใช่ "ฝ่ายตั้งรับ" ล่ะ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปฏิเสธหรือไม่?
คำตอบคือ ปฏิเสธ ถ้าใช้อย่างไม่ถูกต้อง อย่างหลีกเลี่ยงกฎหมาย อย่างผิดคุณธรรม-จริยธรรม-และจรรยาบรรณ อย่างไม่ซื่อตรงต่อหน้าที่และความรับผิดชอบ อย่างมีเจตนาเพื่อผลประโยชน์ที่ไม่สุจริตของตนเอง และพวกพ้อง แต่จะต้องรู้จักและใช้อย่างรู้เท่าทัน ปกป้อง และรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม อย่างมีความคิดก้าวหน้าในเชิงสร้างสรรค์

สำหรับการแก้ปัญหา หรือการเตรียมเผชิญกับปัญหาจากวิกฤตโลกร้อน มีประเด็นและเรื่องราวทั้งเก่าและใหม่ ดังเช่น เรื่องของมาตรการที่ถูกกำหนดขึ้นมา เพื่อเผชิญกับภาวะโลกร้อน เพื่อให้ประเทศที่พัฒนาแล้ว และที่กำลังพัฒนา (ดังเช่นประเทศไทย) ได้ดำรงอยู่ร่วมกัน พึ่งพิง และเอื้ออาทรต่อกัน อย่างเหมาะสม ดังเช่น เรื่อง คาร์บอนเครดิต ที่เป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ของประเทศไทย แต่ก็เป็นทั้ง "โอกาส" และ "ปัญหา" ที่ประเทศไทยต้องเผชิญ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับคนไทยเราเองว่า จะต้องเตรียมตัวกันอย่างไร เพื่อให้สามารถเป็น "ที่พึ่ง" ของโลกหรือประเทศอื่น แทนที่จะเป็น "ปัญหา" ที่เกิดจากความไม่ใส่ใจ หรือความใส่ใจ แต่เพื่อจะกอบโกยผลประโยชน์เท่านั้น

เรื่องของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับวิกฤตโลกร้อน จึงมีโจทย์ มีเป้าหมายมากมาย ที่ท้าทาย เชิญชวนให้ผู้คนและประเทศ ที่ต้องการมีชีวิตสร้างสรรค์และมีความสุขอย่างยั่งยืนได้นำไปใช้ โดยใช้ปัญญาเป็นตัวนำ กำกับด้วยสติ และควบคุมด้วยคุณธรรมกับจริยธรรม

บทความเรื่องนี้ เขียนขึ้นโดยประชาชนและนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่ง ผู้ได้รับประโยชน์เกินร้อยจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการทำงานและดำเนินชีวิต ทั้งนี้ ด้วยความซาบซึ้งในพระอัจฉริยภาพ และพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงพระราชทานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นทางรอด มิใช่เฉพาะสังคมไทยในยุคโลกาภิวัตน์เท่านั้น หากรวมถึงสังคมโลกด้วย ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม

บทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงที่น่าอ่าน

ขออนุญาตคัดลอกบทความจากที่อื่นมาเก็บและเผยแพร่ต่อนะครับ
บทความนี้ได้มาจาก
http://gotoknow.org/blog/stou2499000863/138968

เศรษฐกิจพอเพียงเยียวยา....โลก
“ในหลวง” กับรหัสพัฒนา ใหม่


ตลอดระยะเวลา ๖๐ ปี แห่งการครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศเป็นอเนกปริยาย ทั้งด้านการศึกษา ศาสนา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ศิลปวัฒนธรรม เกษตรกรรม สิ่งแวดล้อม การแพทย์ การสาธารณสุข ฯลฯ อาจจะเรียกได้ว่าทุกด้าน พระ ราชกรณียกิจเกี่ยวกับการพัฒนาต่างๆ เหล่านี้ ได้มีการกล่าว ถึง อยู่ทั่วไปในลักษณะต่างๆ ในบทความนี้ต้องการหาความหมายเชิงลึกของแนวทางการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงเจริญพระชนมพรรษาในช่วงต้น และทรงได้รับการศึกษาท่ามกลางอารยธรรมของยุโรป อัน อาจกล่าวว่าทรงเป็นบุคคลทันสมัย แต่ทิฐิหรือทรรศนะ เกี่ยวกับการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หาตรงกับแนว ทางของอารยธรรมตะวันตกไม่ แต่แตกต่างกันถึงฐานราก อาจเรียกได้ว่าไม่ใช่ทรรศนะแบบตะวันตกด้วยซ้ำ ทิฐิ(concept) เกี่ยวกับเรื่องอะไรนำไปสู่การปฏิบัติตามแนวคิดนั้น ในมรรคมี องค์ ๘ ท่านจึงเริ่มต้นข้อ ๑ ด้วยสัมมาทิฐิเสมอ เพราะสัมมาทิฐินำสู่สัมมาปฏิบัติ แต่ ถ้าเริ่มต้นเป็นมิจฉาทิฐิ สิ่งที่ตามมาคือมิจฉาปฏิบัติ

แนว ความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาก็เช่นเดียวกัน ถ้าเป็นสัมมาทิฐิก็ นำสู่สัมมาพัฒนา แต่ถ้าเป็น มิจฉาทิฐิก็นำสู่มิจฉาพัฒนา ฉะนั้นในการหาความหมาย เชิงลึกของแนวทางการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึง ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับทิฐิของการพัฒนา เปรียบเทียบ ระหว่างการพัฒนาตามแนวทางอารยธรรมตะวันตกและแนวทางตามพระราชดำริ รหัสพันธุกรรม (Genetic Code) กำหนด รูปลักษณ์ของชีวิต

รหัสพัฒนา (Development Code) กำหนดรูป ลักษณ์ของสังคม ในที่ดินผืนเดียวกัน มีต้นไม้นานาพันธุ์ที่แตกต่างหลากหลาย ในรูปลักษณ์และคุณสมบัติที่แตกต่างกัน เพราะถูกออกแบบมาให้ต่างกัน รหัส พันธุกรรมเป็นตัวกำหนดแบบ หรือโครงสร้าง รหัสพันธุกรรมคือ DNA DNA มี baseเรียก เป็นตัวอักษร A T C G เส้น DNA ของ มนุษย์มีความยาว ๓ พันล้านตัวอักษร ทั้ง ๓ พันล้านตัวอักษรมีความจำเพาะมาก ถ้า ผิดไปตัวหนึ่งเขาเรียกว่ากลายพันธุ์ ฉะนั้น การ เรียงลำดับตัวอักษรในรหัสพันธุกรรมกำหนดรูปลักษณ์ชีวิต คำถาม ก็คือ มี รหัสพัฒนา ที่ประกอบด้วยการเรียงลำดับ ตัวอักษรที่ต่างกันกำหนดรูปลักษณ์ของสังคมต่างกันหรือไม่

รหัสพัฒนา ของอารยธรรมตะวันตก เดิมมนุษย์อยู่กัน เป็นกลุ่ม หรือตามกระเปาะ วัฒนธรรม(Cultural pockets) วัฒนธรรม หมายถึงวิถีชีวิตร่วมกันของกลุ่มชนในสิ่งแวดล้อมหนึ่งๆ สิ่ง แวดล้อมแตกต่างหลากหลาย กันไปตาม สถานที่ต่างๆ วัฒนธรรมจึงมีความหลากหลายไปตามความ หลากหลายของ สิ่งแวดล้อม เมื่อ ประมาณ ๕๐๐ ปี ในยุโรปมีการค้น พบทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นความรู้ที่คม ชัด ลึก และมีเสน่ห์ แต่ยังไม่ใช่ปัญญา ยุโรปนำความ รู้ทางวิทยาศาสตร์ไปสร้างเทคโนโลยีที่มีอานุภาพมาก สร้าง อาวุธทรงอานุภาพ ชาวยุโรปใช้อำนาจมหาศาลมหาศาลนี้ บังคับหรือเข่นฆ่าผู้คนไปทุกทวีป กำลังผลิตด้วยเครื่องจักร ได้เกิดการผลิตมากเกินของยุคอุตสาหกรรม สินค้า เหล่านี้ต้องการผู้บริโภค จึงมีการทำทุกวิถีทางที่จะสร้าง ค่านิยมและผลักดันคนทั้งโลกเป็นผู้บริโภคทั้งหมด ก่อ ให้เกิดอารยธรรมใหม่ มีขอบเขตทั่วโลก เป็นอารยธรรม ตะวันตกซึ่งมีลักษณะเป็นวัตถุนิยม บริโภคนิยม และ เงินนิยม ถ้าทบทวนความเป็นมา ของอารยธรรมปัจจุบันจะเป็นได้ว่าเริ่มจากความรู้(Knowledge) นำสู่อำนาจ(Power)และ เงิน(Money) รหัส ของการพัฒนาในระบบนี้ จึง อาจเขียนได้ว่า KPM หรือ ความ รู้ – อำนาจ - เงิน วิกฤต อารยธรรมตะวันตกและการแสวงหาทางออก การ พัฒนาแบบสมัยใหม่ หรือแบบตะวันตก อาจ มีผลดีหลายอย่าง เช่น ความสะดวกสบายจากเครื่องทุ่นแรง การคมนาคม ฯลฯ แต่สิ่งที่เป็นผลจาก การพัฒนาตามแนวทางนี้เชิงประจักษ์อันปฏิเสธไม่ได้มี ๔ ประการ คือ

๑. ช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยห่างกันมากขึ้น
๒. การทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างมหาศาล
๓. การทำลายวัฒนธรรมและจิตวิญญาณ
๔. เกิดวิกฤตการณ์ทางสังคมอย่างรุนแรง

นักปราชญ์ตะวันตก เช่น Larslo, Grof และ Russell มีความเห็นว่า อารยธรรม ตะวันตกกำลังพาโลกทั้งโลกไปสู่วิกฤตการณ์อย่างรุนแรง นอก จาก จะมีการปฏิวัติจิตสำนึก ท่านทะไลลามะมีความเห็น ว่าโลกเป็นโลกบกพร่องทางจิต วิญญาณ(Spiritual deficiency decease) และต้องการการปฏิวัติทางจิตวิญญาณ(Spiritual Revolution) ท่านพุทธทาสมองเห็นวิกฤตการณ์ปัจจุบันนานแล้ว ท่านพร่ำ สอนว่า “ถ้าศีลธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ” ท่าน พุทธทาสเห็นว่าวิกฤตการณ์ปัจจุบันรุนแรง มาก ไม่มี ยาขนานไหนรักษาได้ นอกจาก โลกุตรธรรม ท่าน จึงใช้ชีวิตทั้งหมดปรุงยา โลกุตรโอสถให้เป็นยาสามัญประจำบ้าน

พระเจ้าอยู่หัวกับรหัสพัฒนาใหม่

รหัสพัฒนาของอารยธรรมตะวันตกคือ KPM หรือ ความรู้ - อำนาจ - เงิน ถ้ามองแนว ทางการพัฒนาของพระเจ้าอยู่หัวเชิงลึกจะเห็นว่า รหัสการพัฒนาต่างจากแนวทางตะวันตกโดยสิ้นเชิง รหัสพัฒนาบอก ทิฐิการพัฒนา จึง เป็นตัวกำหนดการปฏิบัติและผลการปฏิบัติที่ต่างกันถึงขั้นรากฐาน จึง มีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่เราควรทำความเข้าใจจากพระราชกรณีย กิจ พระราชดำรัส และพระราชนิพนธ์ ในการเข้าเฝ้าฯปีหนึ่ง ทรง มีพระราชดำรัสกับผู้เคยได้รับพระราชทานทุนอานันทมหิดล ว่า “ใครจะว่าเชยก็ช่างเขา ขอ ให้เราพออยู่พอกิน และมีไมตรีจิตต่อกัน” พระราชดำรัสนี้ชี้ ให้เห็นสังคมอีกแบบหนึ่ง ซึ่งต่างไปจากสังคมปัจจุบันที่เน้น การแข่งขันเสรี “เชย” หมายถึง ไม่ทันสมัย “พอ อยู่พอกินและมีไมตรีจิตต่อกัน” หมายถึง เน้นการอยู่ร่วมกัน (Living together) ไม่ใช่แย่งชิง ทอด ทิ้งกัน แข่งขันเสรี ตัวใครตัวมัน

“สังคมไทยอยู่ได้เพราะมีการให้” เป็นพระราชดำรัสอีก ตอนหนึ่ง “เราควรถอยหลังเข้าคลอง” เป็นพระราชกระแส อีกตอนหนึ่ง “เพราะในคลองคลื่นลมสงบ มี ความปลอดภัย” ถ้า ออกไปในทะเลคลื่นลมแรง เรืออาจล่ม ที่จริง คำว่า “ถอยหลังเข้าคลอง” ใช้ในความหมายไม่ดี ถอย กลับไปสู่ความล้าหลัง แต่ก็ทรงใช้คำนี้อย่างเป็นการท้าทาย แต่สังคมไทย ก็ยังไม่เข้าใจ ยังทะยานออกสู่ทะเลลึกที่ คลื่นลมแรง ควร จำว่าใน พ.ศ. ๒๕๔๐ ในเดือนเดียว เงินไหลออก เกือบหมดประเทศ เพราะการออกไปโต้คลื่นลม แรง จนเรือล่ม ใช่หรือไม่ ใน พระราชนิพนธ์เรื่อง “พระมหา ชนก” โปรดอ่านให้ดีๆว่า พ่อค้า ๗๐๐ คน มีความโลภต้องการไปแสวงหาโชคลาภที่สุวรรณภูมิ แล่นเรือไปใน ทะเล คลื่นลมแรง เรืออับปางลง พ่อ ค้า ๗๐๐ คน อ้อนวอนให้เทวดา ช่วย ไม่คิดพึ่งตนเอง แล้วตายหมด

ในพระราชนิพนธ์เรื่อง “พระมหาชนก” พระมหาชนก คิดพึ่งตนเอง และมี ความเพียรอันบริสุทธิ์ พระมหาชนกมีแนวคิดที่แรงๆ เช่นว่า “คนทั้งปวงล้วนตกอยู่ในโมหภูมิ” โมหะ หมาย ถึง ความ โง่ ความหลงไป ในนั้น มีคำว่า “เมืองอวิชชา”ที่เต็มไปด้วยความชั่วช้า วิชชาที่มี ช ช้าง ๒ ตัว เป็นคำทางพุทธศาสนา ที่มีความหมายพิเศษ วิชชา หมายถึงปัญญาที่หลุดพ้นจาก ความโง่และความหลง ทำให้พ้นทุกข์ อวิชชา ความไม่รู้เป็นสาเหตุของความทุกข์และความ ยุ่งเหยิงวุ่นวายทางสังคม ซึ่งอาจเรียกว่า วิกฤตการณ์ ทางสังคมก็ได้

พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชกระแส และพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงในรูปและนัยต่างๆ มา ประมาณ ๓๐ ปี รวมทั้งที่นำมา กล่าวข้างต้นนี้ด้วย เช่นที่ว่า “ใครจะว่าเชยก็ช่างเขา ขอ ให้เราพออยู่พอกิน และมีไมตรีจิตต่อกัน” คำถามในการ พัฒนาเศรษฐกิจกระแสหลักกับคำ ถามในแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ไม่เหมือน กัน คำ ถามปัจจุบันคือ”ทำอย่างไรจะรวย” แต่คำ ถามใน วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง คือ “ความดีคืออะไร” รหัสพัฒนา ของวิถีเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาตามกระแสหลักไม่เหมือนกัน

รหัส พัฒนาตามกระแสหลักคือ KPM = ความ รู้ - อำนาจ - เงิน
รหัส พัฒนาตามกระแสเศรษฐกิจพอเพียงคือ GCK= ความ ดี - การอยู่ร่วมกัน - ความ รู้
G=Goodness = ความ ดี
C=Community หรือ Culture = วัฒนธรรมการ อยู่ร่วมกัน Knowledge=ความรู้

มรรควิธีวิถีแห่งความพอเพียง

การ ปรับเปลี่ยนจากวิถีเศรษฐกิจนิยม - บริโภคนิยม - เงินนิยม ไป สู่วิถีเศรษฐกิจพอเพียง เป็นเรื่องยาก เพราะคนคุ้นเคยกับวิธี คิดและโครงสร้างเก่าใน สังคม ขอเสนอมรรค วิถี ๔ ประการ เพื่อปรับไปสู่ วิถีเศรษฐกิจพอเพียง ๑. สร้างทิฐิ และจิตสำนึกใหม่ ควร มีการรณรงค์ให้ผู้คนเปลี่ยนคำถามจาก “ทำอย่างไรจะรวย” ไป เป็นคำถามใหม่ว่า “ความดีคือ อะไร” เมื่อ ถามซ้ำๆอยู่อย่างนั้น ทิฐิ และจิตสำนึกจะค่อยๆเปลี่ยนไป ว่าเป้าหมายของชีวิตและการ พัฒนาคือความดีและการอยู่ร่วมกัน ไม่ ไช่การทำกำไรสูงสุด รหัสพัฒนาใหม่คือ GCK หรือ ความ ดี - การอยู่ร่วมกัน - ความรู้ ความดีต้องเป็นตัวตั้ง การ อยู่ร่วมกันเป็นเป้าหมายความรู้เป็นเครื่องมือชีวิตและเศรษฐกิจพอเพียง

๒. การออกแบบ โครงสร้างการพัฒนาที่ถูกต้องสังคม มีเครื่องมือมากแต่ขาดการออกแบบโครงสร้างทุกชนิดต้องมีฐานที่แข็งแรง โครงสร้างนั้นจึงจะมั่นคง สังคมก็เช่นเดียว กันที่ต้องมีฐานที่แข็งแรง ฐานของสังคมคือชุมชน ท้อง ถิ่นแต่ฐานกลับอ่อนแอลงการพัฒนาข้างบนทุกชนิดต้องเชื่อม กับฐานล่างอยู่บนความเข้มแข็งของฐานล่าง จึงเป็นโครงสร้าง การ พัฒนาที่ถูกต้อง ชุมชนเข้มแข็งคือฐานของเศรษฐกิจพอเพียง หากมหาวิทยาลัยต่างๆรู้จักมองลงไปข้างล่างสนับสนุนความเข้มแข็ง ของ ชุมชนท้องถิ่น มหาวิทยาลัยจะเป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนา เศรษฐกิจพอเพียง ถ้า เราเข้าใจความสำคัญของฐานล่างของสังคม ก็จะเข้าใจว่า ทำไม พระเจ้าอยู่หัวจึงทรงตะลอนๆไปช่วยคนข้างล่างจนพระเสโทหยดจากปลายพระนาสิก การพัฒนาต่างๆข้างบนไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ การ ศึกษา พระศาสนา การ สาธารณสุข การ สื่อสาร ฯลฯ มี พลังมาก ถ้า เชื่อมกับฐานล่างให้ข้างล่างกับข้างบนเกื้อกูล ซึ่งกันและกัน ประเทศ ไทยจะแข็งแรง พอเพียง และเรืองแสง

๓. ส่งเสริม จิตตปัญญาศึกษาเพื่อการ เปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในตน การ ศึกษาทุกวันนี้เป็นการศึกษาวิชาต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องนอกตัว ทั้งสิ้น ไม่มีเลยที่ศึกษา เรื่องภายในตัวเอง จึง จำเป็นต้องดึงเอาพลังภายในขึ้นมาใช้มีความจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงขั้น พื้นฐานทั้งในตนเอง และเชิงองค์กร จึงจะเผชิญกับ วิกฤตรุนแรงของโลกได้ จิตตปัญญาศึกษาจะช่วยให้การ ปรับไปสู่วิถีแห่งความพอเพียงเป็นไปได้ง่ายมากขึ้นจึงควรทำความเข้าใจและส่งเสริมอย่างจริงจัง

๔. สร้าง เครื่องมือใหม่ทางสังคม(New Social Tool) โครงสร้างในองค์กรทุกชนิด เป็นโครงสร้างทางดิ่ง หมายถึง เน้น การใช้กฎหมาย กฎระเบียบ และการสั่งการจากบนลง ล่างเป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีอำนาจกับผู้ไม่มีอำนาจ โครง สร้างชนิดนี้ไม่มีพลังเพียงพอที่จะแก้ปัญหาที่ยากและซับซ้อน จำ เป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานเชิงองค์กร ซึ่ง ไม่ใช่การโค่นล้ม หรือ ทำลาย

วิธีการคือการสร้างความสัมพันธ์ทาง ราบ เป็นความสัมพันธ์ใหม่ทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยถือหลักว่า ทุกคนมีศักดิ์ศรี มีคุณค่าและมีศักยภาพ สามารถ เข้ามารวมกลุ่ม ร่วมคิด ร่วมทำ ด้วย ความเสมอภาคและเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย

หลัก การข้างต้นจะเกิดเป็นโครงสร้าง ทางสังคมใหม่ เรียกเป็น สัญลักษณ์ว่า INN ดังนี้

I = Individual หรือ ปัจเจกบุคคลที่ มีจิตสำนึกใหม่ว่าเรามีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มี คุณค่า มีศักยภาพที่จะทำอะไรดีๆ
N = Nodes คน ที่มีความสนใจร่วมกัน เรียนรู้ร่วมกัน ร่วมคิด ร่วมทำ ทุกคนเสมอภาค เป็นความ สัมพันธ์ทางราบ
N = NETWORKS มีการเชื่อม โยงกันเป็นเครือข่ายทั้งระหว่างบุคคลและกลุ่ม แนวทางการพัฒนาของ พระเจ้าอยู่หัวอาจเรียกว่าเอาความดีเป็นตัวตั้ง เพื่อการอยู่ร่วมกัน โดยใช้ความรู้ ซึ่งอาจเขียนเป็นรหัสพัฒนาว่า GCKหรือ ความดี-การอยู่ร่วมกัน- ความรู้ การพัฒนาแบบเก่านำโลกเข้าไปสู่ความ เสื่อมเสียทางศีลธรรมและเจ็บป่วยมากขึ้นเรื่อยๆเพราะใช้เงินเป็นตัวตั้งหาก จะเยียวยาโลกได้ต้องใช้รหัสพัฒนาใหม่

ภาพประกอบ
เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของในหลวง
บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด
เครดิตโดย http://www.chaipat.or.th/chaipat/journal/aug99/thai/self.html และ http://www.prdnorth.in.th/The_King/justeconomic.php ขอขอบคุณมา ณที่นี้ เศรษฐกิจแบบพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระราชหฤทัยในความเป็นไปของเมืองไทยและคนไทยอย่างลึกซึ้งและกว้างไกล ได้ทรงวางรากฐานในการพัฒนาชนบท และช่วยเหลือประชาชนให้สามารถพึ่งตนเองได้มีความ " พออยู่พอกิน" และมีความอิสระที่จะอยู่ได้โดยไม่ต้องติดยึดอยู่กับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ ทรงวิเคราะห์ว่าหากประชาชนพึ่งตนเองได้แล้วก็จะมีส่วนช่วยเหลือเสริมสร้างประเทศชาติโดยส่วนรวมได้ในที่สุด พระราชดำรัสที่สะท้อนถึงพระวิสัยทัศน์ในการสร้างความเข้มแข็งในตนเองของประชาชนและสามารถทำมาหากินให้พออยู่พอกินได้ ดังนี้ "….ในการสร้างถนน สร้างชลประทานให้ประชาชนใช้นั้น จะต้องช่วยประชาชนในทางบุคคลหรือพัฒนาให้บุคคลมีความรู้และอนามัยแข็งแรง ด้วยการให้การศึกษาและการรักษาอนามัย เพื่อให้ประชาชนในท้องที่สามารถทำการเกษตรได้ และค้าขายได้…" ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเกิดความถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงขึ้นนี้จึงทำให้เกิดความเข้าใจได้ชัดเจนในแนวพระราชดำริของ "เศรษฐกิจพอเพียง" ซึ่งได้ทรงคิดและตระหนักมาช้านาน เพราะหากเราไม่ไปพี่งพา ยึดติดอยู่กับกระแสจากภายนอกมากเกินไป จนได้ครอบงำความคิดในลักษณะดั้งเดิมแบบไทยๆไปหมด มีแต่ความทะเยอทะยานบนรากฐานที่ไม่มั่นคงเหมือนลักษณะฟองสบู่ วิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้อาจไม่เกิดขึ้น หรือไม่หนักหนาสาหัสจนเกิดความเดือดร้อนกันถ้วนทั่วเช่นนี้ ดังนั้น "เศรษฐกิจพอเพียง" จึงได้สื่อความหมาย ความสำคัญในฐานะเป็นหลักการสังคมที่พึงยึดถือ ในทางปฏิบัติจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงคือ การฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น เศรษฐกิจพอเพียงเป็นทั้งหลักการและกระบวนการทางสังคม ตั้งแต่ขั้นฟื้นฟูและขยายเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและบริโภคอย่างพออยู่พอกินขึ้นไปถึงขั้นแปรรูปอุตสาหกรรมครัวเรือน สร้างอาชีพและทักษะวิชาการที่หลากหลายเกิดตลาดซื้อขาย สะสมทุน ฯลฯ บนพื้นฐานเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนนี้ เศรษฐกิจของ 3 ชาติ จะพัฒนาขึ้นมาอย่างมั่นคงทั้งในด้านกำลังทุนและตลาดภายในประเทศ รวมทั้งเทคโนโลยีซึ่งจะค่อยๆ พัฒนาขึ้นมาจากฐานทรัพยากรและภูมิปัญญาที่มีอยู่ภายในชาติ และทั้งที่จะพึงคัดสรรเรียนรู้จากโลกภายนอก เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจที่พอเพียงกับตัวเอง ทำให้อยู่ได้ ไม่ต้องเดือดร้อน มีสิ่งจำเป็นที่ทำได้โดยตัวเองไม่ต้องแข่งขันกับใคร และมีเหลือเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ไม่มี อันนำไปสู่การแลกเปลี่ยนในชุมชน และขยายไปจนสามารถที่จะเป็นสินค้าส่งออก เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจระบบเปิดที่เริ่มจากตนเองและความร่วมมือ วิธีการเช่นนี้จะดึงศักยภาพของ ประชากรออกมาสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ซึ่งมีความผู้พันกับ “จิตวิญญาณ” คือ “คุณค่า” มากกว่า “มูลค่า” ในระบบเศรษฐกิจพอเพียงจะจัดลำดับความสำคัญของ “คุณค่า” มากกว่า “มูลค่า” มูลค่านั้นขาดจิตวิญญาณ เพราะเป็นเศรษฐกิจภาคการเงิน ที่เน้นที่จะตอบสนองต่อความต้องการที่ไม่จำกัดซึ่งไร้ขอบเขต ถ้าไม่สามารถควบคุมได้การใช้ทรัพยากรอย่างทำลายล้างจะรวดเร็วขึ้นและปัญหาจะตามมา เป็นการบริโภคที่ก่อให้เกิดความทุกข์หรือพาไปหาความทุกข์ และจะไม่มีโอกาสบรรลุวัตถุประสงค์ในการบริโภค ที่จะก่อให้ความพอใจและความสุข (Maximization of Satisfaction) ผู้บริโภคต้องใช้หลักขาดทุนคือกำไร (Our loss is our gain) อย่างนี้จะควบคุมความต้องการที่ไม่จำกัดได้ และสามารถจะลดความต้องการลงมาได้ ก่อให้เกิดความพอใจและความสุขเท่ากับได้ตระหนักในเรื่อง “คุณค่า” จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ ไม่ต้องไปหาวิธีทำลายทรัพยากรเพื่อให้เกิดรายได้มาจัดสรรสิ่งที่เป็น “ความอยากที่ไม่มีที่สิ้นสุด” และขจัดความสำคัญของ “เงิน” ในรูปรายได้ที่เป็นตัวกำหนดการบริโภคลงได้ระดับหนึ่ง แล้วยังเป็นตัวแปรที่ไปลดภาระของกลไกของตลาดและการพึ่งพิงกลไกของตลาด ซึ่งบุคคลโดยทั่วไปไม่สามารถจะควบคุมได้ รวมทั้งได้มีส่วนในการป้องกันการบริโภคเลียนแบบ (Demonstration Effects) จะไม่ทำให้เกิดการสูญเสีย จะทำให้ไม่เกิดการบริโภคเกิน (Over Consumption) ซึ่งก่อให้เกิดสภาพเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน การบริโภคที่ฉลาดดังกล่าวจะช่วยป้องกันการขาดแคลน แม้จะไม่ร่ำรวยรวดเร็ว แต่ในยามปกติก็จะทำให้ร่ำรวยมากขึ้น ในยามทุกข์ภัยก็ไม่ขาดแคลน และสามารถจะฟื้นตัวได้เร็วกว่า โดยไม่ต้องหวังความช่วยเหลือจากผู้อื่นมากเกินไป เพราะฉะนั้นความพอมีพอกินจะสามารถอุ้มชูตัวได้ ทำให้เกิดความเข้มแข็ง และความพอเพียงนั้นไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง แต่มีการแลกเปลี่ยนกันได้ระหว่างหมู่บ้าน เมือง และแม้กระทั่งระหว่างประเทศ ที่สำคัญคือการบริโภคนั้นจะทำให้เกิดความรู้ที่จะอยู่ร่วมกับระบบ รักธรรมชาติ ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง เพราะไม่ต้องทิ้งถิ่นไปหางานทำ เพื่อหารายได้มาเพื่อการบริโภคที่ไม่เพียงพอ ประเทศไทยอุดมไปด้วยทรัพยากรและยังมีพอสำหรับประชาชนไทยถ้ามีการจัดสรรที่ดี โดยยึด " คุณค่า " มากกว่า " มูลค่า " ยึดความสัมพันธ์ของ “บุคคล” กับ “ระบบ” และปรับความต้องการที่ไม่จำกัดลงมาให้ได้ตามหลักขาดทุนเพื่อกำไร และอาศัยความร่วมมือเพื่อให้เกิดครอบครัวที่เข้มแข็งอันเป็นรากฐานที่สำคัญของระบบสังคม การผลิตจะเสียค่าใช้จ่ายลดลงถ้ารู้จักนำเอาสิ่งที่มีอยู่ในขบวนการธรรมชาติมาปรุงแต่ง ตามแนวพระราชดำริในเรื่องต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วซึ่งสรุปเป็นคำพูดที่เหมาะสมตามที่ ฯพณฯ พลเอกเปรม ตินณสูลานนท์ ที่ว่า “…ทรงปลูกแผ่นดิน ปลูกความสุข ปลดความทุกข์ของราษฎร” ในการผลิตนั้นจะต้องทำด้วยความรอบคอบไม่เห็นแก่ได้ จะต้องคิดถึงปัจจัยที่มีและประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้อง มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาอย่างเช่นบางคนมีโอกาสทำโครงการแต่ไม่ได้คำนึงว่าปัจจัยต่าง ๆ ไม่ครบ ปัจจัยหนึ่งคือขนาดของโรงงาน หรือเครื่องจักรที่สามารถที่จะปฏิบัติได้ แต่ข้อสำคัญที่สุด คือวัตถุดิบ ถ้าไม่สามารถที่จะให้ค่าตอบแทนวัตถุดิบแก่เกษตรกรที่เหมาะสม เกษตรกรก็จะไม่ผลิต ยิ่งถ้าใช้วัตถุดิบสำหรับใช้ในโรงงานั้น เป็นวัตถุดิบที่จะต้องนำมาจากระยะไกล หรือนำเข้าก็จะยิ่งยาก เพราะว่าวัตถุดิบที่นำเข้านั้นราคายิ่งแพง บางปีวัตถุดิบมีบริบูรณ์ ราคาอาจจะต่ำลงมา แต่เวลาจะขายสิ่งของที่ผลิตจากโรงงานก็ขายยากเหมือนกัน เพราะมีมากจึงทำให้ราคาตก หรือกรณีใช้เทคโนโลยีทางการเกษตร เกษตรกรรู้ดีว่าเทคโนโลยีทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น และผลผลิตที่เพิ่มนั้นจะล้นตลาด ขายได้ในราคาที่ลดลง ทำให้ขาดทุน ต้องเป็นหนี้สิน การผลิตตามทฤษฎีใหม่สามารถเป็นต้นแบบการคิดในการผลิตที่ดีได้ ดังนี้ 1. การผลิตนั้นมุ่งใช้เป็นอาหารประจำวันของครอบครัว เพื่อให้มีพอเพียงในการบริโภคตลอดปี เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันและเพื่อจำหน่าย 2. การผลิตต้องอาศัยปัจจัยในการผลิต ซึ่งจะต้องเตรียมให้พร้อม เช่น การเกษตรต้องมีน้ำ การจัดให้มีและดูแหล่งน้ำ จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งการผลิต และประโยชน์ใช้สอยอื่น ๆ 3. ปัจจัยประกอบอื่น ๆ ที่จะอำนวยให้การผลิตดำเนินไปด้วยดี และเกิดประโยชน์เชื่อมโยง (Linkage) ที่จะไปเสริมให้เกิดความยั่งยืนในการผลิต จะต้องร่วมมือกันทุกฝ่ายทั้ง เกษตรกร ธุรกิจ ภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับเศรษฐกิจการค้า และให้ดำเนินกิจการควบคู่ไปด้วยกันได้ การผลิตจะต้องตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่าง “บุคคล” กับ “ระบบ” การผลิตนั้นต้องยึดมั่นในเรื่องของ “คุณค่า” ให้มากกว่า “มูลค่า” ดังพระราชดำรัส ซึ่งได้นำเสนอมาก่อนหน้านี้ที่ว่า “…บารมีนั้น คือ ทำความดี เปรียบเทียบกับธนาคาร …ถ้าเราสะสมเงินให้มากเราก็สามารถที่จะใช้ดอกเบี้ย ใช้เงินที่เป็นดอกเบี้ย โดยไม่แตะต้องทุนแต่ถ้าเราใช้มากเกิดไป หรือเราไม่ระวัง เรากิน เข้าไปในทุน ทุนมันก็น้อยลง ๆ จนหมด …ไปเบิกเกินบัญชีเขาก็ต้องเอาเรื่อง ฟ้องเราให้ล้มละลาย เราอย่าไปเบิกเกินบารมีที่บ้านเมือง ที่ประเทศได้สร้างสมเอาไว้ตั้งแต่บรรพบุรุษของเราให้เกินไป เราต้องทำบ้าง หรือเพิ่มพูนให้ประเทศของเราปกติมีอนาคตที่มั่นคง บรรพบุรุษของเราแต่โบราณกาล ได้สร้างบ้านเมืองมาจนถึงเราแล้ว ในสมัยนี้ที่เรากำลังเสียขวัญ กลัว จะได้ไม่ต้องกลัว ถ้าเราไม่รักษาไว้…” การจัดสรรทรัพยากรมาใช้เพื่อการผลิตที่คำนึงถึง “คุณค่า” มากกว่า “มูลค่า” จะก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่าง “บุคคล” กับ “ระบบ” เป็นไปอย่างยั่งยืน ไม่ทำลายทั้งทุนสังคมและทุนเศรษฐกิจ นอกจากนี้จะต้องไม่ติดตำรา สร้างความรู้ รัก สามัคคี และความร่วมมือร่วมแรงใจ มองกาลไกลและมีระบบสนับสนุนที่เป็นไปได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกฝังแนวพระราชดำริให้ประชาชนยอมรับไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยให้วงจรการพัฒนาดำเนินไปตามครรลองธรรมชาติ กล่าวคือ ทรงสร้างความตระหนักแก่ประชาชนให้รับรู้ (Awareness) ในทุกคราเมื่อ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมประชาชนในทุกภูมิภาคต่าง ๆ จะทรงมีพระราชปฏิสันถารให้ประชาชนได้รับทราบถึงสิ่งที่ควรรู้ เช่น การปลูกหญ้าแฝกจะช่วยป้องกันดินพังทลาย และใช้ปุ๋ยธรรมชาติจะช่วยประหยัดและบำรุงดิน การแก้ไขดินเปรี้ยวในภาคใต้สามารถกระทำได้ การ ตัดไม้ทำลายป่าจะทำให้ฝนแล้ง เป็นต้น ตัวอย่างพระราชดำรัสที่เกี่ยวกับการสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชน ได้แก่ “….ประเทศไทยนี้เป็นที่ที่เหมาะมากในการตั้งถิ่นฐาน แต่ว่าต้องรักษาไว้ ไม่ทำให้ประเทศไทยเป็นสวนเป็นนากลายเป็นทะเลทราย ก็ป้องกัน ทำได้….” ทรงสร้างความสนใจแก่ประชาชน (Interest) หลายท่านคงได้ยินหรือรับฟัง โครงการอันเนื่อง มาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีนามเรียกขานแปลกหู ชวนฉงน น่าสนใจติดตามอยู่เสมอ เช่น โครงการแก้มลิง โครงการแกล้งดิน โครงการเส้นทางเกลือ โครงการน้ำดีไล่น้ำเสีย หรือโครงการน้ำสามรส ฯลฯ เหล่านี้ เป็นต้น ล้วนเชิญชวนให้ ติดตามอย่างใกล้ชิด แต่พระองค์ก็จะมีพระราชาธิบายแต่ละโครงการอย่างละเอียด เป็นที่เข้าใจง่ายรวดเร็วแก่ประชาชนทั้งประเทศ ในประการต่อมา ทรงให้เวลาในการประเมินค่าหรือประเมินผล (Evaluate) ด้วยการศึกษาหาข้อมูลต่าง ๆ ว่าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระองค์นั้นเป็นอย่างไร สามารถนำไปปฏิบัติได้ในส่วนของตนเองหรือไม่ ซึ่งยังคงยึดแนวทางที่ให้ประชาชนเลือกการพัฒนาด้วยตนเอง ที่ว่า “….ขอให้ถือว่าการงานที่จะทำนั้นต้องการเวลา เป็นงานที่มีผู้ดำเนินมาก่อนแล้ว ท่านเป็นผู้ที่จะเข้าไปเสริมกำลัง จึงต้องมีความอดทนที่จะเข้าไปร่วมมือกับผู้อื่น ต้องปรองดองกับเขาให้ได้ แม้เห็นว่ามีจุดหนึ่งจุดใดต้องแก้ไขปรับปรุงก็ต้องค่อยพยายามแก้ไขไปตามที่ถูกที่ควร….” ในขั้นทดลอง (Trial) เพื่อทดสอบว่างานในพระราชดำริที่ทรงแนะนำนั้นจะได้ผลหรือไม่ซึ่งในบางกรณีหากมีการทดลองไม่แน่ชัดก็ทรงมักจะมิให้เผยแพร่แก่ประชาชน หากมีผลการทดลองจนแน่พระราชหฤทัยแล้วจึงจะออกไปสู่สาธารณชนได้ เช่น ทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำนั้น ได้มีการค้นคว้าหาความเหมาะสมและความเป็นไปได้จนทั่วทั้งประเทศว่าดียิ่งจึงนำออกเผยแพร่แก่ประชาชน เป็นต้น ขั้นยอมรับ (Adoption) โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น เมื่อผ่านกระบวนการมาหลายขั้นตอน บ่ม เพาะ และมีการทดลองมาเป็นเวลานาน ตลอดจนทรงให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริและสถานที่อื่น ๆ เป็นแหล่งสาธิตที่ประชาชนสามารถเข้าไปศึกษาดูได้ถึงตัวอย่างแห่งความสำเร็จ ดังนั้น แนวพระราชดำริของพระองค์จึงเป็นสิ่งที่ราษฎรสามารถพิสูจน์ได้ว่าจะได้รับผลดีต่อชีวิต และความเป็นอยู่ของตนได้อย่างไร แนวพระราชดำริทั้งหลายดังกล่าวข้างต้นนี้ แสดงถึงพระวิริยะอุตสาหะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทุ่มเทพระสติปัญญา ตรากตรำพระวรกาย เพื่อค้นคว้าหาแนวทางการพัฒนาให้พสกนิกรทั้งหลายได้มีความร่มเย็นเป็นสุขสถาพรยั่งยืนนาน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงที่ได้พระราชทานแก่ปวงไทยตลอดเวลามากกว่า 50 ปี จึงกล่าวได้ว่าพระราชกรณียกิจของพระองค์นั้นสมควรอย่งยิ่งที่ทวยราษฎรจักได้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ตามที่ทรงแนะนำ สั่งสอน อบรมและวางแนวทางไว้เพื่อให้เกิดการอยู่ดีมีสุขโดยถ้วนเช่นกัน โดยการพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขึ้นตอนต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตาหลักวิชาการ เพื่อได้พื้นฐานที่มั่นคงพร้อมพอสมควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริม ความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขึ้นที่สูงขึ้นไปตามลำดับ จะก่อให้เกิดความยั่งยืนและจะนำไปสู่ความเข้มแข็งของครอบครัว ชุมชน และสังคม สุดท้ายเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน ประการที่สำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง 1. พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวไว้กินเองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน 2-3 ต้น พอที่จะมีไว้กินเองในครัวเรือน เหลือจึงขายไป 2. พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ (ใช้จุลินทรีย์ผสมน้ำถูพื้นบ้าน จะสะอาดกว่าใช้น้ำยาเคมี) รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล) 3. พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด " การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง " "เศรษฐกิจพอเพียง" จะสำเร็จได้ด้วย "ความพอดีของตน" พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัส เรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียงเมื่อวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2540 ซึ่งได้มีการขานรับนำแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติกันหลายหน่วยงาน แต่คนส่วนมากมักเข้าใจว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของเกษตรกรในชนบทเท่านั้น แต่แท้ที่จริงผู้ประกอบอาชีพอื่น เช่น พ่อค้า ข้าราชการ และพนักงานบริษัทต่างๆ สามารถนำแนวพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ได้ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาปีนี้ ทรงได้มีมหากรุณาธิคุณอธิบายเพิ่มเติมว่า ". . . ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงและทำได้เศษหนึ่งส่วนสี่เท่านั้นจะพอนั้น ไม่ได้แปลว่าเศษหนึ่งส่วนสี่ของพื้นที่ แต่เป็นเศษหนึ่งส่วนสี่ของการกระทำ. . ." จากนั้น ได้ทรงขยายความ คำว่า "พอเพียง" เพิ่มเติมต่อไปว่า หมายถึง "พอมีพอกิน" ". . . พอมีพอกิน ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกินก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี. . ." ". . . ประเทศไทยสมัยก่อนนี้ พอมีพอกิน มาสมัยนี้อิสระ ไม่มีพอมีพอกิน จึงจะต้องเป็นนโยบายที่จะทำเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อที่จะให้ทุกคนพอเพียงได้ พอเพียงนี้ก็หมายความว่า มีกิน มีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้ แต่ว่าพอ. . ." ทรงเปรียบเทียบคำว่า พอเพียง กับคำว่า Self-Sufficiency ว่า ". . . Self-Sufficiency นั้น หมายความว่า ผลิตอะไร มีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอยืมคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง. . . เป็นไปตามที่เค้าเรียกว่ายืนบนขาของตัวเอง. . . . . . คนส่วนมากมักเข้าใจว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของ เกษตรกรในชนบทเท่านั้น แต่แท้ที่จริง ผู้ประกอบอาชีพอื่น เช่น พ่อค้า ข้าราชการ และพนักงานบริษัทต่างๆ สามารถนำแนว พระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง ไปประยุกต์ใช้ได้ . . . แต่ว่าพอเพียงนี้มีความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือ คำว่าพอ ก็พอเพียงนี้ก็พอแค่นั้นเอง คนเราถ้าพอใจในความต้องการมันก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนผู้อื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้ อาจจะมี มีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติงานก็พอเพียง. . ." ". . . ฉะนั้น ความพอเพียงนี้ก็แปลว่าความพอประมาณและความมีเหตุผล. . ." ได้มีพระราชกระแสเพิ่มเติมระหว่างเข้าเฝ้าถวายงานมาอีกว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐาน ของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั้นเอง สิ่งก่อสร้างจะอยู่มั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป . . . ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง และทำได้เศษหนึ่ง ส่วนสี่เท่านั้นจะพอนั้น ไม่ได้แปลว่า เศษหนึ่งส่วนสี่ของพื้นที่ แต่เป็นเศษหนึ่งส่วนสี่ของการกระทำ . . . จากพระราชดำรัส: เศรษฐกิจพอเพียง มิได้จำกัดเฉพาะของเกษตรกรหรือชาวไร่ชาวนาเพียงเท่านั้น แต่เป็นเศรษฐกิจของทุกคนทุกอาชีพ ทั้งที่อยู่ในเมืองและอยู่ในชนบท เช่น ผู้ที่เป็นเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมและบริษัทในระบบเศรษฐกิจพอเพียง ถ้าจะต้องขยายกิจการเพราะความเจริญเติบโตจากเนื้อของงาน โดยอาศัยการขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป หรือหากจะกู้ยืมก็กระทำตามความเหมาะสม ไม่ใช่กู้มาลงทุนจนเกินตัวจนไม่เหลือที่มั่นให้ยืนอยู่ได้ เมื่อภาวะของเงินผันผวน ประชาชนก็จะต้องไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินตัว สำหรับเกษตรกรนั้นก็ทำไร่ทำนา ปลูกพืชแบบผสมผสานในที่แห้งแล้งตามแนว "ทฤษฎีใหม่" ได้สำเร็จ หากไม่มีความพอประมาณในใจตน นึกแต่จะซื้อรถปิคอัพคันใหม่ หรือเครื่องอำนวยความสะดวกอื่นๆ อยู่ร่ำไป ก็ย่อมไม่ถือว่าประพฤติตนอยู่ในระบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นพระราชดำรัสที่พระราชทานให้ประชาชนดำเนินตามวิถีแห่งการดำรงชีพที่สมบูรณ์ ศานติสุข โดยมีธรรมะเป็นเครื่องกำกับ และใจตนเป็นที่สำคัญ ซึ่งที่พระองค์ทรงรับสั่งมานั้น แท้ที่จริง คือ วิถีชีวิตไทยนั่นเอง วิถีชีวิตไทยที่ยึดเส้นทางสายกลางของความพอดี . . . ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึงความสุขความเจริญ ที่บุคคลแสวงหามาได้ ด้วยความเป็นธรรมทั้งในเจตนา และการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น . . . หลักการพึ่งตนเอง หากขยายความออกไป อาจจะสามารถยึดหลักสำคัญของความพอดีได้ 5 ประการคือ ความพอดีด้านจิตใจ : ต้องเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้ มีจิตสำนึกที่ดี เอื้ออาทร ประณีประนอม นึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวม ความพอดีด้านสังคม : ต้องมีความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน รู้จักผนึกกำลัง และที่สำคัญมีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากฐานรากที่มั่นคงและแข็งแรง ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด และที่สำคัญใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศ เพื่อพัฒนาประเทศให้มั่นคงอยู่เป็นขั้นเป็นตอนไป ความพอดีด้านเทคโนโลยี : รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับความต้องการ และควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเอง และสอดคล้องเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมของเราเอง ความพอดีด้านเศรษฐกิจ : เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอควร พออยู่ พอกิน สมควรตามอัตตภาพ และฐานะของตน กรอบแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง มาตั้งแต่เริ่มงานพัฒนาเมื่อ 50 ปี ที่แล้ว และทรงยึดมั่นหลักการนี้มาโดยตลอด โดยเฉพาะด้านการเกษตร เราเน้นการ ผลิตสินค้า เพื่อส่งออกเป็นเชิงพาณิชย์ คือ เมื่อปลูกข้าวก็นำไปขาย และก็นำเงินไปซื้อข้าว เมื่อเงินหมดก็จะไปกู้ เป็นอย่างนี้มาโดยตลอดจนกระทั่ง ชาวนาไทยตกอยู่ในภาวะหนี้สิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงปัญหาด้านนี้ จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งธนาคารข้าว ธนาคารโค-กระบือขึ้น เพื่อช่วยเหลือราษฎร นับเป็นจุดเริ่มต้นแห่งที่มาของ "เศรษฐกิจพอเพียง" นับตั้งแต่อดีตกาล แม้กระทั่งโครงการแรกๆ แถวจังหวัดเพชรบุรี ก็ทรงกำชับหน่วยราชการมิให้นำเครื่องมือกลหนักเข้าไปทำงาน รับสั่งว่าหากนำเข้าไปเร็วนัก ชาวบ้านจะละทิ้งจอบ เสียม และในอนาคตจะช่วยตัวเองไม่ได้ ซึ่งก็เป็นจริงในปัจจุบัน จากนั้นได้ทรงคิดค้นวิธีการที่จะช่วยเหลือ ราษฎรด้านการเกษตร จึงได้ทรงคิด "ทฤษฎีใหม่" ขึ้น เมื่อปี 2535 ณ ครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณวัดมงคลชัยพัฒนาอัน เนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสระบุรี เพื่อเป็น ตัวอย่างสำหรับการทำการเกษตรให้แก่ราษฎร ในการจัดการด้านที่ดินและแหล่งน้ำในลักษณะ 30:30:30:10 คือ ขุดสระและเลี้ยงปลา 30 ปลูกข้าว 30 ปลูกพืชไร่พืชสวน 30 และสำหรับเป็นที่อยู่อาศัย ปลูกพืชสวน และเลี้ยงสัตว์ใน 10 สุดท้าย . . . การที่ต้องการให้ทุกคนพยายามที่จะหาความรู้ และสร้างตนเองให้มั่นคงนี้ เพื่อตนเอง เพื่อที่จะให้ตัวเอง มีความเป็นอยู่ที่ก้าวหน้า ที่มีความสุข พอมีพอกินเป็นขั้นหนึ่ง และขั้นต่อไป ก็คือให้มีเกียรติว่ายืนได้ด้วยตัวเอง . . . ต่อมาได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมมา โดยตลอด เพื่อให้เกษตรกรซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศมีความแข็งแรงพอ ก่อนที่จะไปผลิตเพื่อการค้าหรือเชิงพาณิชย์ โดยยึดหลักการ "ทฤษฎีใหม่" 3 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 มีความพอเพียง เลี้ยงตัวเองได้บนพื้นฐานของความประหยัดและขจัดการใช้จ่าย ขั้นที่ 2 รวมพลังกันในรูปกลุ่ม เพื่อการผลิต การตลาด การจัดการ รวมทั้งด้านสวัสดิการ การศึกษา การพัฒนาสังคม ขั้นที่ 3 สร้างเครือข่าย กลุ่มอาชีพและขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หลากหลาย โดยประสานความร่วมมือกับภาคธุรกิจ ภาคองค์การพัฒนาเอกชน และภาคราชการในด้านเงินทุน การตลาด การผลิต การจัดการและข่าวสารข้อมูล สำหรับในภาคอุตสาหกรรม ก็สามารถนำ "เศรษฐกิจพอเพียง" มาประยุกต์ใช้ได้ คือ เน้นการผลิตด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง และไม่ควรทำอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เกินไป เพราะหากทำอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ก็จะต้องพึ่งพิงสินค้าวัตถุดิบและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เพื่อนำมาผลิตสินค้า เราต้องคำนึงถึงสิ่งที่มีอยู่ในประเทศก่อน จึงจะทำให้ประเทศไม่ต้องพึ่งพิงต่างชาติอย่างเช่นปัจจุบัน ดังนั้น เราจะต้องช่วยเหลือประเทศให้มีความเข้มแข็ง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เป็นผู้จุดประกายระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง ซึ่งจะเป็นการช่วยลด ปัญหาการนำเข้าวัตถุดิบ และชิ้นส่วนที่เรานำมาใช้ในการผลิตให้เป็นลักษณะพึ่งพา ซึ่งมีมาแล้วเกือบ 20 ปี แต่ทุกคนมองข้ามประเด็นนี้ไป ตลอดจนได้รับผลจากภายนอกประเทศทำให้ประชาชนหลงลืม และมึนเมาอยู่กับการเป็นนักบริโภคนิยม รับเอาของต่างชาติเข้ามาอย่างไม่รู้ตัว และรวดเร็วจนทำให้เศรษฐกิจของไทยตกต่ำ . . . พยายามไม่ก่อความชั่วให้เป็นเครื่องทำลายตัว ทำลายผู้อื่น พยายามลด พยายามละความชั่วที่ตัวเองมีอยู่ พยายามก่อความดีให้แก่ตัวอยู่เสมอ พยายามรักษา และเพิ่มพูนความดีที่มีอยู่นั้น ให้งอกงามสมบูรณ์ขึ้น . . . การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 1. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพอย่างจริงจัง ดังพระราชดำรัสว่า . . . ความเป็นอยู่ที่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อ ต้องประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง. . . 2. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดำรงชีพก็ตาม ดังพระราชดำรัสที่ว่า . . . ความเจริญของคนทั้งหลายย่อมเกิดมาจาก การประพฤติชอบและการหาเลี้ยงชีพ ของตนเป็นหลักสำคัญ. . . 3. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าขายประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรงดังอดีต ซึ่งมีพระราชดำรัสเรื่องนี้ว่า . . . ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึงความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรมทั้งในเจตนา และการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น. . . 4. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางในชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยากครั้งนี้ โดยต้องขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้เกิดมีรายได้เพิ่มพูนขึ้นจนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ พระราชดำรัสตอนหนึ่งที่ให้ความชัดเจนว่า . . . การที่ต้องการให้ทุกคนพยายามที่ จะหาความรู้ และสร้างตนเองให้มั่นคงนี้เพื่อตนเอง เพื่อที่จะให้ตัวเองมีความเป็นอยู่ที่ก้าวหน้า ที่มีความสุข พอมีพอกินเป็นขั้นหนึ่ง และขั้นต่อไป ก็คือให้มีเกียรติว่ายืนได้ด้วยตัวเอง. . . 5. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดีลดละสิ่งยั่วกิเลสให้หมดสิ้นไป ทั้งนี้ด้วยสังคมไทยที่ล่มสลายลงในครั้งนี้ เพราะยังมีบุคคลจำนวนมิใช่น้อยที่ดำเนินการโดยปราศจากละอายต่อแผ่นดิน พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราโชวาทว่า . . . พยายามไม่ก่อความชั่วให้เป็นเครื่องทำลายตัว ทำลายผู้อื่น พยายามลด พยายามละความชั่วที่ตัวเองมีอยู่ พยายามก่อความดีให้แก่ตัวอยู่เสมอ พยายามรักษา และเพิ่มพูนความดีที่มีอยู่นั้น ให้งอกงามสมบูรณ์ขึ้น. . . ทรงย้ำเน้นว่าคำสำคัญที่สุดคือ คำว่า "พอ" ต้องสร้างความพอที่สมเหตุสมผลให้กับตัวเองให้ได้และเราก็จะพบกับความสุข

บทความเรื่อง  เศรษฐกิจพอเพียง
โดย  นางสาวสมปอง  จันทคง  ครูชำนาญการพิเศษ   โรงเรียนยโสธรพิทยาสรรค์  สพท.ยส. ๑
---------------------------
                               
คำว่าพอดี                            อยู่ที่เพียงพอ
                                ปรัชญาของ  “พ่อ”                             เศรษฐกิจพอเพียง
                                สังคมสุขล้ำ                                           วัฒนธรรมงามเพี้ยง
                                อยู่อย่างไม่เสี่ยง                                   ชาติไทยเจริญ

                เศรษฐกิจพอเพียง  เป็นหลักปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่ปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า  และกำลังได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง  ชนชาวไทยได้น้อมนำมาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม  ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ  เช่น  ทำไร่นาสวยผสม  ปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้  ปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานในครอบครัว  ใช้จ่ายอย่างประหยัด  จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายในครัวเรือน    เพื่อให้เห็นปัญหาข้อบกพร่องในการใช้จ่าย  จะได้ตรวจสอบว่าสิ่งใดสมควรซื้อ  สิ่งใดไม่สมควรซื้อ  จะได้ลดค่าใช้จ่ายลง  เป็นต้น
                เมื่อกล่าวถึงคำว่า  พอเพียง  แล้ว  คงต้องกล่าวถึงคำว่า  พอดี  ควบคู่กันไป  เพราะ  ความพอดี  ก็คือความพอเพียง  เมื่อรู้จักพอ  ก็จะทำให้จิตใจเป็นสุข  ถ้าใจเป็นสุขก็จะไม่เบียดเบียนตนและคนอื่น  รู้จักให้ทาน    รู้จักแบ่งปัน  รู้จักเสียสละ  ช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอกว่า เหล่านี้คือ     ความพอดีพอเพียง  และในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  มีหลักปฏิบัติ  ที่ต้องคำนึงถึง  ประกอบด้วย  ๓  ห่วง  ๒  เงื่อนไข  กล่าวคือ  เน้นการปฏิบัติในทางสายกลาง  และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน  ๓ คุณลักษณะ  ได้แก่  ความพอประมาณ  ความมีเหตุมีผล  และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี  ส่วน  ๒  เงื่อนไขได้แก่  เงื่อนไขความรู้  และเงื่อนไขคุณธรรม
                การดำเนินชีวิตโดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  อย่างมีความสุขนั้น  ผู้ที่นำมาปฏิบัติให้เกิดเป็นผลจะต้องเป็นผู้มีความรอบรู้ รอบคอบ  ระมัดระวัง  ในการใช้วิชาความรู้ที่ตนมี  ควบคู่ไปกับคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต  ขยันอดทน  ใช้สติปัญญา  และรู้จักแบ่งปัน  รู้จักประมาณตน  มีเหตุ         มีผล  และมีความมุ่งมั่น  มีภูมิคุ้มกันที่ดี  จึงจะนำไปสู่ชีวิตที่มีความพอเพียง  อยู่ในสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุล  มั่นคง  มั่งคั่ว  ยั่งยืน  และมีความเป็นสุข  ดังคำขวัญที่ว่า

                                                เศรษฐกิจดี         สังคมมีวัฒนธรรม
                                ขยันหา  ขยันทำ                  รักพ่อต้อง  พอเพียง


วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เศรษฐกิจพอเพียง


จุดเริ่มต้นแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
ผลจากการใช้แนวทางการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่สังคมไทยอย่างมากในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งกระบวนการของความเปลี่ยนแปลงมีความสลับซับซ้อนจนยากที่จะอธิบายในเชิงสาเหตุและผลลัพธ์ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดต่างเป็นปัจจัยเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน
สำหรับผลของการพัฒนาในด้านบวกนั้น ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเจริญทางวัตถุ และสาธารณูปโภคต่างๆ ระบบสื่อสารที่ทันสมัย หรือการขยายปริมาณและกระจายการศึกษาอย่างทั่วถึงมากขึ้น แต่ผลด้านบวกเหล่านี้ส่วนใหญ่กระจายไปถึงคนในชนบท หรือผู้ด้อยโอกาสในสังคมน้อย
แต่ว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้เกิดผลลบติดตามมาด้วย เช่น การขยายตัวของรัฐเข้าไปในชนบท ได้ส่งผลให้ชนบทเกิดความอ่อนแอในหลายด้าน ทั้งการต้องพึ่งพิงตลาดและพ่อค้าคนกลางในการสั่งสินค้าทุน ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ระบบความสัมพันธ์แบบเครือญาติ และการรวมกลุ่มกันตามประเพณีเพื่อการจัดการทรัพยากรที่เคยมีอยู่แต่เดิมแตกสลายลง ภูมิความรู้ที่เคยใช้แก้ปัญหาและสั่งสมปรับเปลี่ยนกันมาถูกลืมเลือนและเริ่มสูญหายไป
สิ่งสำคัญ ก็คือ ความพอเพียงในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่ทำให้คนไทยสามารถพึ่งตนเอง และดำเนินชีวิตไปได้อย่างมีศักดิ์ศรีภายใต้อำนาจและความมีอิสระในการกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง ความสามารถในการควบคุมและจัดการเพื่อให้ตนเองได้รับการสนองตอบต่อความต้องการต่างๆ รวมทั้งความสามารถในการจัดการปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ซึ่งทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นศักยภาพพื้นฐานที่คนไทยและสังคมไทยเคยมีอยู่แต่เดิม ต้องถูกกระทบกระเทือน ซึ่งวิกฤตเศรษฐกิจจากปัญหาฟองสบู่และปัญหาความอ่อนแอของชนบท รวมทั้งปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ล้วนแต่เป็นข้อพิสูจน์และยืนยันปรากฎการณ์นี้ได้เป็นอย่างดี
 พระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง 

“...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...” (๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๗)
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานมานานกว่า ๓๐ ปี เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี “สติ ปัญญา และความเพียร” ซึ่งจะนำไปสู่ “ความสุข” ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง
“...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้...” (๔ ธันวาคม ๒๕๑๗)
พระบรมราโชวาทนี้ ทรงเห็นว่าแนวทางการพัฒนาที่เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นหลักแต่เพียงอย่างเดียวอาจจะเกิดปัญหาได้ จึงทรงเน้นการมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่ในเบื้องต้นก่อน เมื่อมีพื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควรแล้ว จึงสร้างความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น
                        ซึ่งหมายถึง แทนที่จะเน้นการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมนำการพัฒนาประเทศ ควรที่จะสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจพื้นฐานก่อน นั่นคือ ทำให้ประชาชนในชนบทส่วนใหญ่พอมีพอกินก่อน เป็นแนวทางการพัฒนาที่เน้นการกระจายรายได้ เพื่อสร้างพื้นฐานและความมั่นงคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ก่อนเน้นการพัฒนาในระดับสูงขึ้นไป
                   ทรงเตือนเรื่องพออยู่พอกิน ตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ คือ เมื่อ ๓๐ กว่าปีที่แล้ว 
                   แต่ทิศทางการพัฒนามิได้เปลี่ยนแปลง 
                        “...เมื่อปี ๒๕๑๗ วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี และประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย...” (๔ ธันวาคม ๒๕๔๑)
เศรษฐกิจพอเพียง 
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
                   ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้ 
๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
                        โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ๒ ประการ  ดังนี้
๑. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ
๒. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
ย้อนกลับด้านบน
 พระราชดำรัสที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง 
“...เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาของเศรษฐกิจ การที่ต้องใช้รถไถต้องไปซื้อ เราต้องใช้ต้องหาเงินมาสำหรับซื้อน้ำมันสำหรับรถไถ เวลารถไถเก่าเราต้องยิ่งซ่อมแซม แต่เวลาใช้นั้นเราก็ต้องป้อนน้ำมันให้เป็นอาหาร เสร็จแล้วมันคายควัน ควันเราสูดเข้าไปแล้วก็ปวดหัว ส่วนควายเวลาเราใช้เราก็ต้องป้อนอาหาร ต้องให้หญ้าให้อาหารมันกิน แต่ว่ามันคายออกมา ที่มันคายออกมาก็เป็นปุ๋ย แล้วก็ใช้ได้สำหรับให้ที่ดินของเราไม่เสีย...”
พระราชดำรัส เนื่องในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๒๙
                        “...เราไม่เป็นประเทศร่ำรวย เรามีพอสมควร พออยู่ได้ แต่ไม่เป็นประเทศที่ก้าวหน้าอย่างมาก เราไม่อยากจะเป็นประเทศก้าวหน้าอย่างมาก เพราะถ้าเราเป็นประเทศก้าวหน้าอย่างมากก็จะมีแต่ถอยกลับ ประเทศเหล่านั้นที่เป็นประเทศอุตสาหกรรมก้าวหน้า จะมีแต่ถอยหลังและถอยหลังอย่างน่ากลัว แต่ถ้าเรามีการบริหารแบบเรียกว่าแบบคนจน แบบที่ไม่ติดกับตำรามากเกินไป ทำอย่างมีสามัคคีนี่แหละคือเมตตากัน จะอยู่ได้ตลอดไป...”
พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๔
                        “...ตามปกติคนเราชอบดูสถานการณ์ในทางดี ที่เขาเรียกว่าเล็งผลเลิศ ก็เห็นว่าประเทศไทย เรานี่ก้าวหน้าดี การเงินการอุตสาหกรรมการค้าดี มีกำไร อีกทางหนึ่งก็ต้องบอกว่าเรากำลังเสื่อมลงไปส่วนใหญ่ ทฤษฎีว่า ถ้ามีเงินเท่านั้นๆ มีการกู้เท่านั้นๆ หมายความว่าเศรษฐกิจก้าวหน้า แล้วก็ประเทศก็เจริญมีหวังว่าจะเป็นมหาอำนาจ ขอโทษเลยต้องเตือนเขาว่า จริงตัวเลขดี แต่ว่าถ้าเราไม่ระมัดระวังในความต้องการพื้นฐานของประชาชนนั้นไม่มีทาง...”
พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๖
“...เดี๋ยวนี้ประเทศไทยก็ยังอยู่ดีพอสมควร ใช้คำว่า พอสมควร เพราะเดี๋ยวมีคนเห็นว่ามีคนจน คนเดือดร้อน จำนวนมากพอสมควร แต่ใช้คำว่า พอสมควรนี้ หมายความว่าตามอัตตภาพ...”
พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
                        “...ที่เป็นห่วงนั้น เพราะแม้ในเวลา ๒ ปี ที่เป็นปีกาญจนาภิเษกก็ได้เห็นสิ่งที่ทำให้เห็นได้ว่า ประชาชนยังมีความเดือดร้อนมาก และมีสิ่งที่ควรจะแก้ไขและดำเนินการต่อไปทุกด้าน มีภัยจากธรรมชาติกระหน่ำ ภัยธรรมชาตินี้เราคงสามารถที่จะบรรเทาได้หรือแก้ไขได้ เพียงแต่ว่าต้องใช้เวลาพอใช้ มีภัยที่มาจากจิตใจของคน ซึ่งก็แก้ไขได้เหมือนกัน แต่ว่ายากกว่าภัยธรรมชาติ ธรรมชาตินั้นเป็นสิ่งนอกกายเรา แต่นิสัยใจคอของคนเป็นสิ่งที่อยู่ข้างใน อันนี้ก็เป็นข้อหนึ่งที่อยากให้จัดการให้มีความเรียบร้อย แต่ก็ไม่หมดหวัง...”
พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
                        “...การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้น หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตนเอง ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างผลิตได้มากกว่าความต้องการก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไร ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก...”
พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙.
                        “...เมื่อปี ๒๕๑๗ วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี และประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย...”
พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑
“...พอเพียง มีความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือคำว่าพอ ก็พอเพียงนี้ก็พอแค่นั้นเอง คนเราถ้าพอในความต้องการก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมี มีมากอาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น...”
พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑
                        “...ไฟดับถ้ามีความจำเป็น หากมีเศรษฐกิจพอเพียงแบบไม่เต็มที่ เรามีเครื่องปั่นไฟก็ใช้ปั่นไฟ หรือถ้าขั้นโบราณกว่า มืดก็จุดเทียน คือมีทางที่จะแก้ปัญหาเสมอ ฉะนั้นเศรษฐกิจพอเพียงก็มีเป็นขั้นๆ แต่จะบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ให้พอเพียงเฉพาะตัวเองร้อยเปอร์เซ็นต์นี่เป็นสิ่งทำไม่ได้ จะต้องมีการแลกเปลี่ยน ต้องมีการช่วยกัน ถ้ามีการช่วยกัน แลกเปลี่ยนกัน ก็ไม่ใช่พอเพียงแล้ว แต่ว่าพอเพียงในทฤษฎีในหลวงนี้ คือให้สามารถที่จะดำเนินงานได้...”
พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒
                        “...โครงการต่างๆ หรือเศรษฐกิจที่ใหญ่ ต้องมีความสอดคล้องกันดีที่ไม่ใช่เหมือนทฤษฎีใหม่ ที่ใช้ที่ดินเพียง ๑๕ ไร่ และสามารถที่จะปลูกข้าวพอกิน กิจการนี้ใหญ่กว่า แต่ก็เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน คนไม่เข้าใจว่ากิจการใหญ่ๆ เหมือนสร้างเขื่อนป่าสักก็เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน เขานึกว่าเป็นเศรษฐกิจสมัยใหม่ เป็นเศรษฐกิจที่ห่างไกลจากเศรษฐกิจพอเพียง แต่ที่จริงแล้ว เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน...”
พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒
                        “...ฉันพูดเศรษฐกิจพอเพียงความหมายคือ ทำอะไรให้เหมาะสมกับฐานะของตัวเอง คือทำจากรายได้ ๒๐๐-๓๐๐ บาท ขึ้นไปเป็นสองหมื่น สามหมื่นบาท คนชอบเอาคำพูดของฉัน เศรษฐกิจพอเพียงไปพูดกันเลอะเทอะ เศรษฐกิจพอเพียง คือทำเป็น Self-Sufficiency มันไม่ใช่ความหมายไม่ใช่แบบที่ฉันคิด ที่ฉันคิดคือเป็น Self-Sufficiency of Economy เช่น ถ้าเขาต้องการดูทีวี ก็ควรให้เขามีดู ไม่ใช่ไปจำกัดเขาไม่ให้ซื้อทีวีดู เขาต้องการดูเพื่อความสนุกสนาน ในหมู่บ้านไกลๆ ที่ฉันไป เขามีทีวีดูแต่ใช้แบตเตอรี่ เขาไม่มีไฟฟ้า แต่ถ้า Sufficiency นั้น มีทีวีเขาฟุ่มเฟือย เปรียบเสมือนคนไม่มีสตางค์ไปตัดสูทใส่ และยังใส่เนคไทเวอร์ซาเช่ อันนี้ก็เกินไป...”
พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
๑๗ มกราคม ๒๕๔๔